การดึงหน้าผากโดยใช้กล้อง
(Endoscopic Foreheadlift)

เหมาะสำหรับผู้ที่หัวคิ้วย่น, มีรอยย่นบนหน้าผาก หางตาตก ยิ้มมีรอยตีนกา และคิ้วต่ำลงมาใกล้ตาหรือบังตาจนรบกวนการมองเห็น วิธีการผ่าตัดโดยใช้กล้องเหมาะกับผู้ที่มีรอยย่นหน้าผากเล็กน้อยและมีคิ้วตกเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยปกติที่หน้าผากเราจะมีกล้ามเนื้อใต้ผิวหนัง ทำหน้าที่ย่นหน้าผาก เลิกคิ้ว หรือขมวดคิ้ว ดังนั้นผลจากการหดตัวของกล้ามเนื้อเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวนานๆ เข้าก็เกิดเป็นริ้วรอยดังกล่าว

การดึงหน้าผากจะช่วยลดริ้วรอยดังกล่าว ช่วยให้ใบหน้าส่วนบนอ่อนเยาว์ขึ้น การดึงหน้าผากโดยใช้กล้อง มีข้อดีคือ แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กกว่าการดึงหน้าผากแบบปกติ ทำให้มีการเกิดแผลน้อยกว่าวิธีดึงหน้าผากแบบปกติ  แต่เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น

การปรึกษาก่อนผ่าตัด

การปรึกษาเรื่องการดึงหน้าผากจะต้องเตรียมตัวปรึกษาในปัญหาเรื่องดังต่อไปนี้

⦁ ตำแหน่งของคิ้วที่ต้องการยกขึ้นมาก- น้อย แค่ไหน

⦁ ผู้ที่มีผิวหนังที่มีความยืดหยุ่นน้อย อาจไม่สามารถยกได้สูงมาก

การทำ ENDOSCOPIC BROWLIFT เหมาะกับ

⦁ ผู้ที่มีคิ้วตกน้อยถึงปานกลาง (ระยะระหว่างกลางคิ้วถึงม่านตา(pupil) 1.5 – 2.5 cm.)

⦁ Francheight  โดยปกติจะมากกกว่า 2.5 cm. แต่ถ้าน้อยกว่า 2.5 cm. ถือว่าคิ้วตก

⦁ Brow glide คือ การยกคิ้วขึ้น จนได้ตำแหน่งสูงสุดปกติ 1-2 cm.

หมายเหตุ ผู้ที่มีคิ้วตกมาก (ระยะคิ้วถึงม่านตาน้อยกว่า 1.5 cm.) ควรทำการผ่าตัด forehead lift แบบปกติได้ผลดีกว่าใช้กล้อง

คนไข้ที่เหมาะกับการ ENDOSCOPIC FOREHEADLIFT

⦁ มีรอยย่นระหว่างคิ้ว

⦁ ผู้ที่ใช้เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ไม่ควรมารับการผ่าตัด เนื่องจากเครื่องจี้ไฟฟ้าอาจมีผลต่อการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจได้

⦁ มีรอยย่นหน้าผาก

⦁ คิ้วตกระดับน้อยถึงปานกลาง

⦁ หนังตาตกโดยที่มีคิ้วตกร่วมด้วย

⦁ คนชาติตะวันตก การดึงหน้าผากโดยใช้กล้องได้ผลดีกว่าคนเอเชีย แต่ในคนเอเชียที่ผิวหนังบางก็ได้ผลดีเช่นกัน

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด

⦁ งดยาต้านการอักเสบ (NSAID) เช่นแอสไพริน บุหรี่ อาหารเสริมบางตัวที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น กระเทียม น้ำมันปลา อย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนการผ่าตัด

⦁ สมุนไพรบางชนิดเช่นอีฟนิ่งพริมโรส ยาวิตามินอีปริมาณสูง ๆ อาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส กระเทียม หัวหอม ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง อาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติหรือมีปัญหาระหว่างผ่าตัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพราะอาจต้องหยุดรับประทานสมุนไพรก่อนเข้ารับการผ่าตัดประมาณ 3 – 5 วัน

⦁ สำหรับผู้ที่จะวางยาสลบต้องงดน้ำ  งดอาหาร ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง

⦁ สระผมตอนเช้าก่อนผ่าตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

⦁ ผู้ที่มีความดันสูงต้องควบคุมให้เป็นปกติก่อนผ่าตัด  2 อาทิตย์

⦁ เตรียมงดสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัด 1 – 2 อาทิตย์

⦁ เตรียมตัวหยุดงานประมาณ 5 – 7 วัน

⦁ ควรพาเพื่อนมาด้วยในวันผ่าตัด ควรมีคนขับรถให้ในวันกลับจากโรงพยาบาล

⦁ ถ้ามีโรคประจำตัว ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน

⦁ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจบางชนิด ต้องกินยาต้านเกล็ดเลือด เช่น ยา aspirin ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนผ่าตัด

⦁ ผู้ที่กินยา Cumadin เพื่อป้องกันภาวะการแข็งตัวของเส้นเลือดดำที่ขาหรือในผู้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวและหยุดยาก่อนมารับการผ่าตัด

⦁ เครื่องประดับที่เป็นโลหะควรถอดเก็บไว้ที่บ้าน เพื่อป้องกันการสูญหาย เนื่องจากไม่สามารถใส่ระหว่างผ่าตัดได้

ขั้นตอนการผ่าตัด

⦁ วางยาสลบ

⦁ เปิดแผลที่ศีรษะ 5 จุด

⦁ วัดตำแหน่งของหน้าผากที่ต้องการดึง

⦁ ใช้กล้องส่องใต้ผิวหนัง แยกผิวหนังจากเนื้อเยื่อกระดูกด้านล่าง

⦁ ยกผิวหนังบริเวณหน้าผากจนถึงตำแหน่งไหม ยึดด้วยสกรูกับกระโหลกศีรษะ

⦁ เย็บปิดแผลที่ผิวหนัง

การดูแลหลังการผ่าตัด

⦁ วันแรกหลังการผ่าตัด แพทย์จะเอาสายระบายน้ำเหลืองออกพร้อมกับเปิดแผลที่ศีรษะ

⦁ ประคบเย็นที่หน้าผาก วันละ 4 ครั้ง  เพื่อลดอาการบวม ประมาณ 7 – 10 วัน

⦁ นอนยกศีรษะสูง (หนุนหมอน 2 – 3 ใบ) เพื่อลดอาการบวม

⦁ ผ้าตาข่ายที่พันบริเวณใบหน้านั้นปิดไว้เพียง 1 วัน เช้าวันรุ่งขึ้นให้ตัดหรือแกะออก จากนั้นสระผมได้โดยเกาอย่างเบามือ เพื่อล้างคราบเลือดออก ซับแล้วเป่าผมให้แห้ง สามารถสระผมได้ทุกวันตามปกติ

⦁ 7  วันหลังทำการผ่าตัด  ให้มาคลายไหมที่ศีรษะเพื่อลดอาการตึง

⦁ หลังจากคลายไหมแล้ว ใช้ “Vitamin E” ทานวดที่แผล (หลังหู, ท้ายทอย) เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นนูนแข็ง (ทานวดประมาณ 3  เดือน) วันละ 2 ครั้ง ทุกๆวัน

⦁ 14 วันหลังทำการผ่าตัด  ให้มาตัดไหมทั้งหมดออก (พร้อมทั้งพบแพทย์เพื่อตรวจแผล)

⦁ รับประทานยาตามแพทย์สั่งจนหมด ถ้าเกิดอาการแพ้ยา  เช่น  มีผื่นแดง, คัน, คลื่นไส้อาเจียน, แน่นหน้าอก ให้มาพบแพทย์ทันทีหรือติดต่อเจ้าหน้าที่โดยใช้สาย Hotline

⦁ ในวันที่ 1 – 3 หลังผ่าตัด จะมีอาการบวมที่หน้าผาก ในวันที่ 3 – 7 อาการบวมจะอยู่ที่รอบดวงตาและใต้ตา บางครั้งอาจมีอาการเขียวช้ำที่บริเวณแก้มและรอบดวงตา ถ้ามีรอยเขียวช้ำ อาจประคบน้ำอุ่นบ่อยๆ จะช่วยให้อาการเขียวช้ำหายไป

error: Content is protected !!