Skip to content
Tel : 02-000-7294 063-661-2323
Open Daily : 10:00 - 20:00
bcoss clinic surgery
Menu
คลินิกศัลยกรรม บีคอสสหคลินิก
เกี่ยวกับคลินิกของเรา
บริการของเรา
ศัลยกรรม เสริมหน้าอก
ศัลยกรรม เสริมจมูก
ศัลยกรรม ตาสองชั้น
ศัลยกรรม ดึงหน้า
อัปเดตข่าวสาร บทความศัลยกรรม
ติดต่อคลินิกของเรา
English
Edit Template
คลินิกศัลยกรรม บีคอสสหคลินิก
เกี่ยวกับคลินิกของเรา
บริการของเรา
ศัลยกรรม เสริมหน้าอก
ศัลยกรรม เสริมจมูก
ศัลยกรรม ตาสองชั้น
ศัลยกรรม ดึงหน้า
อัปเดตข่าวสาร บทความศัลยกรรม
ติดต่อคลินิกของเรา
English
Menu
คลินิกศัลยกรรม บีคอสสหคลินิก
เกี่ยวกับคลินิกของเรา
บริการของเรา
ศัลยกรรม เสริมหน้าอก
ศัลยกรรม เสริมจมูก
ศัลยกรรม ตาสองชั้น
ศัลยกรรม ดึงหน้า
อัปเดตข่าวสาร บทความศัลยกรรม
ติดต่อคลินิกของเรา
English
การดึงหน้าผาก
การดึงหน้าผาก (Forehead Lift)
เหมาะสำหรับผู้ที่หัวคิ้วย่น,มีรอยย่นบนหน้าผาก หางตาตก ยิ้มมีรอยตีนกา และคิ้วต่ำลงมาใกล้ตาหรือบังตาจนรบกวนการมองเห็น โดยปกติที่หน้าผากเราจะมีกล้ามเนื้อใต้ผิวหนัง ทำหน้าที่ย่นหน้าผาก เลิกคิ้ว หรือขมวดคิ้ว ดังนั้นผลจากการหดตัวของกล้ามเนื้อเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวนานๆ เข้าก็เกิดเป็นริ้วรอยดังกล่าว
การดึงหน้าผากจะช่วยลดริ้วรอยดังกล่าว ช่วยให้ใบหน้าส่วนบนอ่อนเยาว์ขึ้น การดึงหน้าผากจะใช้สำหรับลดรอยย่นบนหน้าผากและหัวคิ้วจะน้อยลง คิ้วที่เคยตก เปลือกตาที่เคยหลุบจะถูกยก แต่การดึงหน้าผาก ช่วยแก้เรื่องถุงใต้ตา เปลือกตาบวมหนา และตีนกาไม่ได้
เทคนิคการผ่าตัด
เทคนิคที่ 1 การดึงหน้าผากโดยการผ่าตัดแบบปกติ (Coronal Foreheadlift) อาจทำโดยฉีดยาชาหรือวางยาสลบได้ โดยการผ่าตัดทำให้มีแผลรอบศีรษะเหนือใบหูด้านซ้ายจนถึงด้านขวา โดยทั่วไปอาจทำได้ 2 วิธี คือ
1.1 แบบที่แผลที่หลังต่อแนวไรผม ซึ่งจะซ่อนแผลเป็นได้ดี แต่จะทำให้หน้าผากกว้างขึ้น จึงอาจไม่เหมาะกับคนที่มีหน้าผากสูงอยู่แล้ว โดยเฉพาะในผู้ชายที่เริ่มมีศีรษะล้าน
1.2 แบบที่แผลอยู่ที่ไรผม (Hair Line) เหมาะสำหรับผู้ที่มีหน้าผากสูงอยู่แล้ว หรือผู้ชาย
เทคนิคที่ 2 การดึงหน้าผากโดยใช้กล้อง (Endoscopic forhead lift, or Endoscopic brow lift) เป็นการดึงหน้าผากโดยใช้กล้องส่อง วิธีนี้มีข้อดีคือ มีแผลเป็นน้อยกว่าเทคนิคที่ 1 โดยทั่วไป แผลเป็นจะมี 5 – 6 แผลเล็กๆ แยกจากกัน ทำให้แผลเป็นเห็นชัดน้อยกว่าเทคนิคที่ 1 นอกจากนั้นแล้วยังมีปัญหาเรื่องความเจ็บปวดน้อยกว่าเทคนิคแรก แต่เนื่องจากเป็นวิธีที่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ ทำให้การผ่าตัดต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากกว่าเทคนิคที่ 1 และไม่สามารถใช้กับผู้ที่มีคิ้วตกมากๆได้
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
⦁ งดยาต้านการอักเสบ (NSAID) เช่นแอสไพริน บุหรี่ อาหารเสริมบางตัวที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น กระเทียม น้ำมันปลา อย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนการผ่าตัด
⦁ สมุนไพรบางชนิดเช่นอีฟนิ่งพริมโรส ยาวิตามินอีปริมาณสูง ๆ อาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส กระเทียม หัวหอม ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง อาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติหรือมีปัญหาระหว่างผ่าตัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพราะอาจต้องหยุดรับประทานสมุนไพรบางชนิด ก่อนเข้ารับการผ่าตัดประมาณ 3 – 5 วัน
⦁ สำหรับผู้ที่จะวางยาสลบต้องงดน้ำ งดอาหาร ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
⦁ สระผมตอนเช้าก่อนผ่าตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
⦁ ผู้ที่มีความดันสูงต้องควบคุมให้ปกติก่อนผ่าตัด 2 อาทิตย์
⦁ เตรียมงดสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัด 1 – 2 อาทิตย์
⦁ เตรียมตัวหยุดงานประมาณ 5 – 7 วัน
⦁ ควรพาเพื่อนมาด้วยในวันผ่าตัด และควรเตรียมคนที่จะขับรถพากลับบ้านหลังผ่าตัด
⦁ ถ้ามีโรคประจำตัว ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
⦁ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจบางชนิด ต้องการยาต้านเกล็ดเลือด เช่น ยา aspirin ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนผ่าตัด
⦁ ผู้ที่กินยา Cumadin เพื่อป้องกันภาวะการแข็งตัวของเส้นเลือดดำที่ขาหรือในผู้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวและหยุดยาก่อนมารับการผ่าตัด
⦁ เครื่องประดับที่เป็นโลหะควรถอดเก็บไว้ที่บ้าน เพื่อป้องกันการสูญหาย เนื่องจากไม่สามารถใส่ระหว่างผ่าตัดได้
ขั้นตอนการผ่าตัด
⦁ ฉีดยาชาหรือวางยาสลบ
⦁ ใช้มีดกรีดหลังต่อแนวไรผม แล้วเลาะใต้ชั้นผิวหนังและกล้ามเนื้อตลอดหน้าผาก
⦁ ตัดกล้ามเนื้อใต้ผิวหนังออกไปบางส่วน เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อไม่ให้เกิดริ้วรอยได้อีก
⦁ ดึงผิวหนังให้ตึง ตัดผิวหนังส่วนเกินแล้วเย็บปิดแผล
⦁ ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 2 ชั่วโมง
⦁ หลังผ่าตัดจะมองไม่เห็นรอยแผล เนื่องจากบาดแผลจะอยู่ในผมเหนือหน้าผากตามรอยคาดผม
การดูแลหลังผ่าตัด
⦁ วันแรกหลังการผ่าตัด แพทย์จะเอาสายระบายน้ำเหลืองออกพร้อมกับเปิดแผลที่ศีรษะ
⦁ ประคบเย็นที่หน้าผาก วันละ 4 ครั้ง เพื่อลดอาการบวม ประมาณ 7 – 10 วัน
⦁ นอนยกศีรษะสูง (หนุนหมอน 2 ใบ) เพื่อลดอาการบวม
⦁ ผ้าตาข่ายที่พันบริเวณหน้าผากนั้นปิดไว้เพียง 1 วัน เช้าวันรุ่งขึ้นแพทย์จะตัดหรือแกะออก จากนั้นสระผมได้โดยเกาอย่างเบามือ เพื่อล้างคราบเลือดออก ซับแล้วเป่าผมให้แห้ง สามารถสระผมได้ทุกวันตามปกติ
⦁ 7 วันหลังทำการผ่าตัด ให้มาคลายไหมที่ศีรษะเพื่อลดอาการตึง
⦁ 14 วันหลังทำการผ่าตัด ให้มาตัดไหมทั้งหมดออก พร้อมทั้งพบแพทย์เพื่อตรวจแผล
⦁ หลังจากตัดไหมแล้ว ใช้ “Vitamin E” ทานวดที่แผล (หลังหู, ท้ายทอย) เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นนูนแข็ง (ทานวดประมาณ 3 เดือน) วันละ 2 ครั้ง ทุก ๆ วัน
⦁ รับประทานยาตามแพทย์สั่งจนหมด หากเกิดอาการแพ้ยา เช่น มีผื่นแดง, คัน, คลื่นไส้อาเจียน, แน่นหน้าอก ให้มาพบแพทย์ทันทีหรือโทรปรึกษาได้ที่สาย Hot line
⦁ ในวันที่ 1 – 3 หลังผ่าตัด จะมีอาการบวมที่หน้าผาก ในวันที่ 3 – 7 อาการบวมจะอยู่ที่รอบดวงตาและใต้ตา บางครั้งอาจมีอาการเขียวช้ำที่บริเวณแก้มและรอบดวงตา ถ้ามีรอยเขียวช้ำ อาจประคบน้ำอุ่นบ่อยๆ จะช่วยให้อาการเขียวช้ำหายไป
error:
Content is protected !!